ลมพิษ

ลมพิษเรื้อรัง

สาเหตุของลมพิษ


                  ลมพิษ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งจะก่อให้เกิดความรำคาญและรบกวนการทำงานหรือการนอนหลับของผู้ป่วย ลมพิษสามารถเกิดขึ้นที่ผิวหนังตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย บางครั้งลมพิษที่เกิดขึ้นจะทำให้หนังตาบวม ริมฝีปากบวม หากลมพิษเกิดขึ้นที่ทางเดินหายใจ ก็จะทำให้หายใจลำบากและมีอันตรายถึงชีวิต ลมพิษอาจเป็นอยู่เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจเป็นๆ หายๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

ชนิดเฉียบพลัน จะเป็นๆ หายๆ น้อยกว่า 6 สัปดาห์

ชนิดเรื้อรัง จะเป็นๆ หายๆ นานกว่า 6 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นลมพิษชนิดเรื้อรัง มักจะมีลมพิษตามตำแหน่งที่เกาหรือกดทับเป็นเวลานานด้วย เช่น รอยรัดของเสื้อชั้นใน หรือกางเกง เป็นต้น

ลักษณะอาการของลมพิษ

        ลมพิษมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน มีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น วงกลม วงรี วงหยัก เนื้อภายในวงจะนูน และมีสีซีดกว่าขอบเล็กน้อย ทำให้เห็นเป็นขอบแดงๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันมากๆ พอเกาตรงไหนก็จะมีผื่นแดงขึ้นตรงนั้น บางครั้งอาจมีไข้ขึ้นเล็กน้อย หรือรู้สึกร้อนผ่าวๆ ตามผิวกาย

          ลมพิษอาจเกิดขึ้นที่หน้า แขนขา ลำตัวหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และเป็นอยู่ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แล้วก็ยุบหายได้ แต่อาจเกิดขึ้นใหม่ในตำแหน่งเดิม หรือเป็นตำแหน่งอื่นอีกก็ได้ ภายในวันเดียวกันหรือวันต่อมาหรือในเดือนต่อๆ มา

สาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ

                การแพทย์ตะวันตกและการแพทย์จีน มีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเกี่ยวกับมูลเหตุและพยาธิสภาพของลมพิษ  สำหรับการแพทย์ตะวันตก  ลมพิษชนิดเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร เหล้าเบียร์ ยา ฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์หรือสารเคมีบางชนิด  ทำให้ร่างกายมการสร้างฮิสตามีน (Histamine) ออกมาจากเซลล์ในชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวและมีพลาสมา (น้ำเลือด) ซึมออกมาใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นผื่นนูนแดงและมีอาการคัน แต่ลมพิษเรื้อรังส่วนใหญ่ กลับไม่สามารถตรวจพบสาเหตุที่แน่ชัดได้

ส่วนการแพทย์จีนได้จัดลมพิษให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากพิษลม ร่วมกับพิษร้อน-ชื้นที่สะสมในร่างกาย (邪与湿热ซึ่งพิษทั้งสองประเภทมีลักษณะเฉพาะดังนี้

พิษลม มีลักษณะเคลื่อนไหว กระจายและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ลมพิษจึงมีลักษณะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน และเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย พร้อมทั้งสามารถขึ้นที่ตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้

 พิษร้อน มีลักษณะแผดเผาและอบอ้าว ซึ่งจะทำลายสารเหลวและพลังชี่ (ในร่างกาย ทำให้ท้องผูก น้ำปัสสาวะมีสีเข้ม ปากขม ปากแห้ง น้ำลายเหนียว  มีอาการระคายคอบ่อยแน่นหน้าอกเหมือนหายใจไม่ทั่วท้อง อ่อนเพลียง่าย รูขุมขนเปิด เส้นเลือดฝอยขยายตัว พร้อมทั้งทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง โรคต่างๆ จึงแทรกเข้าไปในร่างกายได้ง่ายขึ้น

พิษชื้น มักเกิดร่วมกับพิษร้อน ซึ่งก็เช่นเดียวกับอากาศที่ร้อนจัด มักจะทำให้มีฝนและเกิดความชื้น พิษร้อน-ชื้นที่สะสมในร่างกายจะเอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่ายกว่าและบ่อยกว่า

          พิษลมและพิษร้อน-ชื้น จะทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพิษนี้จะแทรกเข้าไปในส่วนใดของร่างกาย หากพิษลมและพิษร้อน-ชื้นมีการแทรกเข้าไปใต้ผิวหนังในปริมาณมากเกินกว่าร่างกายจะรับได้ ก็จะปะทุออกมาทางผิวหนัง ทำให้เกิดลมพิษชนิดเฉียบพลันได้ หากพิษนี้มีการสะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นเวลานาน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขจัดออกไปให้หมดสิ้น ลมพิษก็จะเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเป็นเวลานาน และมักจะกำเริบในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือร้อนจัด พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเครียด ความกังวล ฯลฯ

การบำบัดลมพิษด้วยาแก้แพ้ มีข้อจำกัดอย่างไร

          เมื่อพูดถึงยาบำบัดลมพิษ หลายๆ คนคงนึกถึงยาแก้แพ้หรือยาแอนติฮิสตามีน (Anti-histamine) ถึงแม้ว่ายานี้เป็นยาพื้นฐานในการบำบัดลมพิษของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม แต่อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยลมพิษชนิดเรื้อรัง เนื่องจากยาแก้แพ้เป็นเพียงยาระงับอาการของลมพิษเท่านั้นและมิได้ขจัดต้นเหตุของโรค ผู้ป่วยลมพิษชนิดเรื้อรังจึงมักจะเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเป็นเวลานาน นอกจากนี้ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้มักจะทำให้ง่วงนอน มึนงง เวียนศีรษะ ตาพร่าและอาจมีอาการคอแห้ง เบื่ออาหาร ใจสั่น หงุดหงิด ความดันต่ำหรือเกิดการแพ้ยา สำหรับผู้ป่วยลมพิษชนิดเรื้อรังที่มีการใช้ยาแก้แพ้เป็นประจำก็จะเกิดการดื้อยาขึ้นมาด้วย

 วิธีบำบัดด้วยการแพทย์แผนจีน

          สำหรับลมพิษโดยเฉพาะลมพิษชนิดเรื้อรัง การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขจัดพิษลมและพิษร้อน-ชื้นให้ออกจากร่างกาย เพื่อบำบัดต้นเหตุของลมพิษแทนการใช้ยาแก้แพ้ จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบของสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ

          นอกจากนี้ การแพทย์จีนยังให้ความสำคัญในการปรับร่างกายของผู้ป่วยลมพิษให้กลับสู่ภาวะสมดุล โดยใช้วิธีบำรุงไตเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมพลังชี่  () และพลังไฟมิ่งเหมิน (命门之火) ของไต ทำให้ร่างกายสามารถขจัดพิษลมและพิษร้อน-ชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ลมพิษชนิดเรื้อรังและอาการต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยลมพิษ เช่น ปากขม ปากแห้ง น้ำลายเหนียว อาการระคายคอ แน่นหน้าอก เหมือนหายใจไม่ทั่วท้อง เป็นสิวบ่อย ท้องผูกหรือน้ำปัสสาวะมีสีเข้ม เป็นต้น จึงค่อย ๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น