โรคหืดเกิดจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้มีความไวและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ เมื่อผู้ป่วยโรคหืดสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมก็จะหดตัวอย่างรุนแรงจนตีบแคบ ทำให้หายใจลำบาก ไอ หอบ แน่นหน้าอกและหายใจมีเสียงวี้ด โรคหืดพบในคนทุกวัยและสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หากพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหืดลูกจะมีโอกาสเป็นหืดได้ 30-50% และจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 60-100% หากพ่อแม่เป็นโรคหืดทั้งคู่ เราจึงพบผู้ป่วยโรคหืดที่มีพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายหรือญาติพี่น้อง เป็นหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ อยู่เป็นประจำ
โรคหอบหืดมีอาการอย่างไร
เป็นมากๆ จะต้องลุกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะหรือพนักเก้าอี้และหอบจนตัวโยน มีเสียง
ดังฮืดๆ หรือวี้ดๆ ผู้ป่วยมักจะมีเสลดเหนียวและไอมาก อาจมีอาการคัดจมูก คัน
คอ เป็นหวัดและจามนำมาก่อน
สิ่งกระตุ้นที่พบได้บ่อย
• สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหาร เป็นต้น
• สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ มลภาวะในอากาศ
เป็นต้น
• ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) แอสไพริน ยา
Beta blocker ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น
• การติดเชื้อไวรัส ในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
• การออกกำลังกาย
• อารมณ์ที่รุนแรงหรืออาการเครียด
• การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคหอบหืด
ถึงแม้ว่าการแพทย์ตะวันตกยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคหืด
แต่ก็เป็นที่ทราบดีว่า
มีการอักเสบของทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอันซับซ้อนของระบบภูมิคุ้มกัน
ทำให้ทางเดินหายใจตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติในคนที่เป็นภูมิแพ้
โดยมีดัชนีชี้วัดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น ระดับซีรั่ม IgE และ IgG แอนติบอดีที่สูงๆ ระดับ Specific
IgE แอนติบอดีที่สูงขึ้น เป็นต้น
ส่วนการแพทย์จีนได้จัดโรคหืด
ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะพร่องชี่หรือพร่องพลัง (气虚症) ซึ่งหมายถึง
สมรรถภาพการทำงานของอวัยวะและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถดถอยลง
ภาวะพร่องพลังมักจะเกิดขึ้นร่วมกันในปอด ม้ามและไต ผู้ป่วยจึงมีอาการได้หลายอย่าง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะพร่องพลังจะเป็นหนักในอวัยวะใด อาทิ
• พลังม้ามพร่อง (脾气虚) มักจะมีอาการหน้าซีดเหลือง ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่อยากพูดคุย ไม่เจริญอาหาร อาหารไม่ย่อย แน่นจุกเสียดที่ท้อง มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องเสียเป็นประจำ หรืออุจจาระหยาบไม่จับตัวเป็นก้อน ฯลฯ
• พลังปอดพร่อง (肺气虚) มักจะมีอาการหายใจขัด
หายใจถี่ หอบ ไอเรื้อรัง
โดยเฉพาะไอแบบไม่มีแรงหรือไอตอนกลางคืน
มีเสมหะมาก เสียงพูดเบาหรือ
ค่อย เหงื่อออกง่าย ทั้งๆ
ที่ไม่รู้สึกร้อน เป็นหวัดง่าย ลิ้นมีฝ้าขาวหรือลื่น ฯลฯ
• พลังไตพร่อง (肾气虚) เมื่อไตอ่อนแอมากๆ
ก็จะทำให้พลังในไตพร่องลง ซึ่ง
มักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบหืด
หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียง่าย ไม่
มีเรี่ยวแรง ใจเต้นแรง
มีอาการบวมที่ใบหน้าและแขนขา เหงื่อออกง่าย ลิ้นมีฝ้า
ขาวหรือลื่น ขอบลิ้นทั้ง
มักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบหืด
หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ใจเต้นแรง มีอาการบวมที่ใบหน้าและแขนขา เหงื่อออกง่าย ลิ้นมีฝ้า
ขาวหรือลื่น ขอบลิ้นทั้ง 2 ด้านมีรอยกดทับของฟัน ฯลฯ
จากการศึกษาทางคลินิกในปัจจุบันยังพบว่า
ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยพร่องพลังมักจะทำงานผิดปกติไปด้วย ซึ่งอาจแสดงในด้านภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง
ทำให้ง่ายต่อการรุกรานของโรค
หรือในด้านภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ
ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยพร่องพลังจึงมีดัชนีชี้วัดการทำงาน
ของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติไปอย่างน้อย 1 ดัชนี เช่นปริมาณเซลล์ CD3 CD4 CD8
อัตราส่วนของเซลล์ CD4 ต่อ CD8 ระดับซีรั่ม IgA IgE IgG หรือ IgM แอนติบอดี เป็นต้น
เมื่อภาวะพร่องพลังเรื้อรังเป็นเวลานาน ก็จะพัฒนาเป็นกลุ่มโรค ดังนี้
• ระบบทางเดินหายใจ โรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หัวใจ
• ล้มเหลวจากโรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด ฯลฯ
• ระบบทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย ลำไส้แปรปรวน ฯลฯ
• โรคภูมิแพ้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น